ข้อห้ามของผู้สักยันต์



1. ห้ามด่าบิดามารดาของตนเอง เพราะบิดามารดาท่านเป็นผู้ให้กำเนิดเรามาถือว่าท่านเป็นครูคนแรกที่สอนเรามา อีกทั้งเปรียบเสมือนเทพชั้นพรหม มีหลายคนถามว่าบิดามารดาคนอื่นละ อาจารย์ตอบได้เลยว่าได้ เพราะถ้าลูกของเรามีลูกละ เราไม่สามารถด่าลูกเราได้เลยหรือ คงต้องด่า หรือว่ากล่าวได้ละ เพราะเราสั่งสอนลูกเราเองนิ
สักยันต์
2. ห้ามผิดลูกเมียเขา เพราะอยู่ในศิลข้อ 5 ที่น่าจะควรถืออยู่แล้ว เมียเขาเราไม่เอา แต่ถ้าเลิกกันแล้ว ก็ไม่เป็นไรเพราะเขาไม่มีเจ้าของแล้ว
สักยันต์
3.ห้ามกินน้ำเต้า มะเฟือง บวบ ฟัก  เพราะว่าธาตุเย็นจะไปลบล้างว่านที่เขาผสมลงไปตอนที่สักยันต์ ของจะเสื่อม

4.ห้ามลอดกระไดหัวเดียว 

5.ห้ามลอดราวตากผ้า

6.ห้ามรับประทานผักลื่น ผักปลัง 

7.ห้ามรับประทานปลาที่ลื่น ปลาดุก ปลาไหล ปลาสวาย

8. ห้ามคนข้ามตัว 

9.ห้ามให้ผู้หญิงอยู่เหนือศรีษะ 

10.ห้ามให้ผู้หญิงคร่อม สักยันต์


ข้อปฏิบัติบางข้อ อาจจะไม่ได้อยู่ในข้อห้ามของอาจารณ์แต่ละท่าน ข้อห้ามทั้งหมดเป็นเพียงการรวบรวมไว้เท่านั้น 



การสักหนุมาน



การสักยันต์หนุมานนั้น ท่านคงจะเห็นว่า มันมีหลากหลายรูปแบบ ที่แตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง บ้างก็มี 1 ตัว บ้างก็มี 2-3 ตัวก็มี แต่ใครจะรู้บ้าง ว่าที่ท่านสักยันต์ไปนั้น แต่ละตัวมีชื่อ และความหมายว่าอย่างไรกันบ้างวันนี้เราจะมาอธิบายให้ท่านทราบอย่างละเอียด

  • สักยันต์หนุมานตัวที่ 1 สุวรรณะ หากสักแล้ว อายุยืนไปไหน มาไหน มีคนเมตตาช่วยเหลือ 
  • สักยันต์หนุมานตัวที่ 2 มนิโย หากสักแล้ว ท่านจะพูดจาเรียบร้อย ตรงไปตรงมา 
  • สักยันต์หนุมานตัวที่ 3 สังคะเมวะจะ หากสักแล้วท่านจะมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์คุ้มครอง 
  • สักยันต์หนุมานตัวที่ 4 สุริยะ หากสักแล้วเป็นท่านจะลูกพระอาทิตย์ 
  • สักยันต์หนุมานตัวที่ 5 มุขคะเมวะจะ หากสักแล้ว อุเบกขา (ท่านจะวางตัวเป็นกลาง) 
  • สักยันต์หนุมานตัวที่ 6 อาธิกะมูรัง หากสักแล้วจะเป็นลูกเทวดา เทวดาจะคอยรักษาล้อมรอบตัวเรา 
  • สักยันต์หนุมานตัวที่ 7 มันตรา หากสักแล้วจะมีเพื่อนมากรักพวกพ้อง
  • สักยันต์หนุมานตัวที่ 8 อุอุอะอะ สวามหามันตัง หากสักแล้ว จะไม่เกรงกลัวใคร ใหญ่ที่สุด ตัวพิเศษ (ย่อจากตัวที่ 9) สวาหะ แม่หนุมานขี่ราชสิงห์เชิญธง มีบุญฤทธิ์มากมาย


     ส่วนความหมายของตัวนะจะเป็นเมตตามหานิยม "นะสาลิกาลิ้นทอง" หากสักแล้ว จะเป็นมหาเสน่ห์ พูดจา จะมีคนหลงรัก "นะหน้าทอง" สักแล้วจะมีคนเมตตาสงสารให้ความช่วยเหลือ "นะหัวใจเศรษฐี" สักแล้วร่ำรวย มีเงินมีทองมากมาย และ "นะไฝเงิน-ไฝทอง" สักแล้ว เมื่อไปพูดอะไรกับใครจะได้เงินได้ทองคล่อง ซึ่งจริงๆ หนุมานมีอิทธิฤทธิ์สูงมาก เหมือนเทพ และมีความว่องไวเป็นพิเศษ อภินิหารแกร่งกล้า

ทั้งนี้ ทั้งนั้น ทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมขึ้นอยู่กับความศรัทธา เลื่อมใส และการปฏิบัติตนของแต่ละบุคคล  หากประพฤติดี ย่อมได้ดีเป็นแน่

เหตุผลว่า ทำไมต้องสักยันต์ สักไปเพื่อนอะไร


"ลายสักสำนักสักยันต์อาจารย์พี บางกระทิง"


"เหตุผลว่า ทำไมต้องสักยันต์ สักไปเพื่อนอะไร"

      พูดถึงเรื่องของการสักยันต์นั้น ได้มีเรื่องราวที่ถูกบันทึก และสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ พบอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของโลก แต่จะต่างกันไปตามความเชื่อและวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค ซึ่งในสมัยโบราณนั้น มีเหตุมาจากความเชื่อและความศรัทธาเลื่อมใส เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและเป็นสัญลักษณ์ของเผ่าต่างๆ
ตามความเชื่อและวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค ซึ่งในแถบประเทศทางเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า เขมร ลาว เวียดนาม
      ในสมัยโบราณนั้น มักจะทำการสักยันต์เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ มีความเชื่อมั่น ศรัทธา เพื่อให้เข้มขลังมีปาฏิหารย์ ไสยเวทย์สัมฤทธิ์ผลดังยันต์ที่สักไว้บนส่วนต่างๆของร่างกาย โดยมีการเสกเป่าอัญเชิญครูบาอาจารย์มาคุ้มครองรักษากำกับไว้ทุกครั้งที่สักยันต์

       ในสมัยโบราณมีแต่ผู้ชายเท่านั้นที่มักนิยมสักยันต์กัน เพราะผู้ชายจะมีหน้าที่คุ้มครองรักษาชุมชนหมู่บ้านและต้องถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารรบกับข้าศึกศัตรู ซึ่งบางครั้งไม่สะดวกที่จะพกพาเอาเครื่องราง ของขลังติดตัวไปทำศึกสงคราม และอีกเหตุผลก็คือ สักยันต์เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้ฮึกเหิมไม่หวั่นกลัวต่อข้าศึกและภัยอันตรายทั้งปวง จึงนิยมสักยันต์กัน
ซึ่งมักจะสักยันต์ด้วยหมึกเพื่อให้เห็นอักขระเลขยันต์และสักยันต์ด้วยน้ำมันเพื่อซ่อนอักขระเลขยันต์บนร่างกาย

      วิชาสักยันต์นั้น เป็นวิชาที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล ซึ่งในสมัยนั้นครูบาอาจารย์ผู้สักยันต์ให้ ท่านมักจะเป็นฤาษีผู้บำเพ็ญตบะแก่กล้า และสืบทอดวิชากันมาจนถึงทุกวันนี้ ทำให้ก่อนที่เราจะสักยันต์นั้น เราจะต้องมีการบูชาครู เพื่อระลึกถึงครูบาอาจารย์ทุกครั้งก่อนที่จะทำการสักยันต์ และเมื่อสักยันต์เสร็จแล้วก็จะมีการปลุกเสก เป่ามนต์คาถา เชิญครูบาอาจารย์มาคุ้มครองกำกับอักขระเลขยันต์ทุกครั้ง เพื่อความขลังและเสริมสร้างศรัทธาความเชื่อมั่นในยันต์ที่สักลงไปให้กับผู้ที่ถูกสักยันต์ การเป่ามนต์คาถานั้น เป็นการบริกรรมภาวนาเพื่อให้เกิดสมาธิและมีการอธิษฐานจิตรวมหลอมไปตามความหมายมนต์คาถานั้นยันต์ที่สักลงไปนั้นจึงมีความขลังมีพลังประจุอยู่

     เพื่อเป็นการควบคุมต่อศิษย์ที่สักยันต์ให้ ครูบาอาจารย์ท่านจึงตั้งกฏข้อปฏิบัติให้แก่ศิษย์เพื่อวัดศรัทธาของศิษย์ว่าจะมีความเคารพศรัทธาต่อครูบาอาจารย์หรือไม่ ซึ่งกฏข้อปฏิบัติส่วนใหญ่จะเป็นไปในกรอบของศีลธรรมอันดีงามและเป็นการฝึกสติให้แก่ศิษย์ เพราะการรักษาข้อห้ามกฏกติกานั้นจำเป็นต้องมีสติและความเคารพศรัทธาควบคุมอยู่เมื่อเขามีสติ มีศรัทธาเชื่อมั่นในยันต์ที่สักมา ในครูบาอาจารย์ที่สักมา มันก่อให้เกิดสมาธิและปาฏิหารย์ย่อมเกิดขึ้น

     แต่ในยุคสมัยปัจจุบันนั้นการสักยันต์ส่วนใหญ่ได้เปลียนแปลงไป เป็นสมัยกระแสนิยมคือสักยันต์ไปตามกระแสเป็นแฟร์ชั่นนิยม ขาดซึ่งศรัทธาที่แท้จริง เป็นการสักเพื่อโอ้อวด แข่งขัน ประชันความสวยงามกัน ย่อหย่อนในข้อปฏิบัติตามที่ครูบาอาจารย์ท่านได้กำหนดและปฏิบัติกันมา ทั้งผู้ที่ตั้งตนเป็นอาจารย์สัก และผู้ที่ถูกสักขาดการศึกษาในเรื่องข้อห้ามข้อปฏิบัติเสียเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ผู้ที่สักยันต์นั้นถูกมองในทางไม่ดี เพราะผู้ที่สักยันต์นั้นไม่ปฏิบัติตามข้อห้าม ข้อปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ท่านกำหนดไว้ ประพฤติตนไม่เหมาะสม ทำตัวเสื่อมเสีย ไม่อยู่ในศีลธรรมดั่งเจตนาของครูบาอาจารย์ทำให้คนทั่วไปที่ไม่รู้ไม่เข้าใจ มองผู้สักยันต์ในทางที่ลบ

     การสักยันต์นั้น เราต้องมีความเคารพศรัทธา เชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์และมีคุณธรรมประจำใจ ปาฏิหารย์เกิดจากศรัทธา ความเจริญก้าวหน้าเกิดจากคุณธรรม การสักยันต์นั้นเพื่อเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้เพิ่มขึ้นและเป็นการระลึกถึงครูบาอาจารย์ที่ประสาทประสิทธฺ์ยันต์นั้นให้แก่เรา เพื่อให้เรามีสติและคุณธรรมในการดำรงค์ชีวิต คนที่เคารพเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ย่อมมีความเจริญก้าวหน้าและประสพกับความสำเร็จในชีวิต
     ถ้าเราสักยันต์ไปแล้วไม่ประพฤติปฏิบัติตามข้อห้ามข้อกำหนดที่เรียกว่า" ผิดครู" ยันต์ที่สักไปนั้นก็ไม่มีความขลัง ไม่มีปาฏิหารย์ เป็นเพียงรอยสีรอยหมึกรูปภาพบนร่างกายเท่านั้น แต่ถ้าผู้ที่สักยันต์มานั้นนข้อปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ท่านกำหนดไว้ไปประพฤติปฏิบัติอยู่ในศีลในธรรม ก็ย่อมมีความสำเร็จดังปรารถนาสมกับยันต์ที่ได้สักลงมาบนร่างกายเพราะมีความเคารพ เชื่อมั่น ศรัทธา มีสติและคุณธรรมคุ้มครองจิต ชีวิตของเขาย่อมมีความสุขความเจริญนั่นเอง

ความหมายของรอยสักต่างๆ



ลายเส้นที่ขีดลากไปมานอกยันต์นั้น หมายถึง "สายรกของพระพุทธเจ้า" ส่วนเส้นที่อยู่ภายในยันต์ เรียกว่า "กระดูกยันต์" 

"ยันต์"นั้นมีหลากหลายรูปแบบต่างๆ กันไป เช่น

ยันต์กลม มีความหมายว่าเป็นพระพักตร์(ใบหน้า)ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทางศาสนาพราหมณ์ หมายถึงพระพักตร์ของพระพรหม (เวลาลากเส้นยันต์ว่าสูตรดังนี้ ยันตัง สันตัง วิกรึงคะเรฯ)

ยันต์สามเหลี่ยม มีความหมายว่าเป็นพระรัตนตรัย หรือภพทั้งสาม ส่วนทางศาสนาพราหมณ์ให้ความหมายว่าเป็นพระเป็นเจ้าทั้ง 3 ของพราหมณ์ คือ พระอิศวร พระพรหม พระนารายณ์

(เวลาลากเส้นยันต์ว่าสูตรดังนี้ ติยันตัง สันตัง วิกรึงคะเรฯ)


ยันต์สี่เหลี่ยม มีความหมายว่าเป็นทวีปทั้งสี่ หรือธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
(เวลาลากเส้นยันต์ว่าสูตรดังนี้ จตุยันตัง สันตัง วิกรึงคะเรฯ)

ยันต์รูปภาพ มีทั้งรูปภาพ เทวดา มนุษย์ และสัตว์ต่างๆ ส่วนความหมายก็อยู่ในตัวของรูปภาพนั้นๆ

(ยันต์ที่เป็นรูปภาพต่างๆ เวลาลากเส้นยันต์ใช้ภาวนาคาถา (อาการ ๓๒) นี้
 เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ มังสัง นะหารู
อัฏฐี อัฏฐีมิญชัง วักกัง หะทะยัง ยะกะนัง กิโลมะกัง ปิหะกัง
ปัปผาสัง อันตัง อันตะคุณัง อุทะริยัง กะรีสัง ปิตตัง เสมหัง ปุพโพ
โลหิตัง เสโท เมโท อัสสุ วะสา เขโฬ สิงฆาณิกา ละสิกา มุตตัง
มัตถะเก มัตถะลุงคันติ)